ศูนย์จักษุกรรมและเลสิก-iconศูนย์จักษุกรรมและเลสิก

ศูนย์จักษุกรรมและเลสิก

เราให้บริการในการผ่าตัดแก้ไขสายตา โดยวิธีการดังต่อไปนี้

  • - Bladeless FemtoLASIK (using wavefront technology) การผ่าตัดเลสิกแบบไร้ใบมีด
  • - MicrokeratomeLASIK (using wavefront technology) การผ่าตัดเลสิกแบบใช้ใบมีดPRK
  • - Intrastromal corneal ring segments implantation การฝังวงแหวนในเนื้อกระจกตาเพื่อรักษาโรคกระจกตาโป่งนูน (keratoconus)
  • - Intraocular contact lens (ICL) การใส่เลนส์เสริมแก้ไขสายตา สั้น ยาว เอียง

LASIK (Laser-assisted In Situ Keratomileusis)

เลสิก หรือ LASIK  คือเทคโนโลยีการรักษาสายตาโดยการใช้แสงเลเซอร์ในการรักษา สายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมที่สร้างประวัติศาสตร์อันโดดเด่นของการรักษาสายตา เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก ปลอดภัยและรวดเร็ว โดยใช้เวลาเพียง 15 นาทีต่อการรักษา 1 ข้างและให้ผลอย่างถาวร ทำให้ผู้ที่ได้รับการรักษาไม่ต้องใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์

เป็นวิธีการรักษาสายตาโดยแยกชั้นกระจกตาผิวบน ก่อนทำการยิงเลเซอร์ วิธีการนี้ให้ผลการรักษาที่แม่นยำสายตาคมชัดอย่างรวดเร็วหลังผ่าตัดและมีอาการเจ็บปวดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในปัจจุบันเทคโนโลยีการแยกชั้นกระจกตามีความก้าวหน้ามากการผ่าตัด LASIK จึงสามารถทำได้ 2 วิธีคือ

  • - Conventional LASIK (Microkeratome LASIK) เป็นวิธีการทำLASIK โดยการใช้ใบมีดอัตโนมัติที่มีความแม่นยำสูงในการ ตัดแยกชั้นกระจกตาก่อนทำการยิงเลเซอร์แก้ไขสายตา วิธีนี้พัฒนามาเป็นเวลาหลายสิบปี ทำให้เชื่อมั่นได้ว่าการผลการรักษาที่ได้มีความปลอดภัยและแม่นยำสูง
  • - Bladeless FemtoLASIK วิธีนี้ใช้เลเซอร์ความถี่สูง (Femtosecond laser) ในการยิงแยกชั้นกระจกตาก่อนทำการยิงเลเซอร์แก้ไขสายตาแทนการใช้ใบมีดอัตโนมัติ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่พัฒนาต่อมาจากวิธีแรก สามารถกำหนดความหนาของฝากระจกได้ตามที่ต้องการ แยกชั้นกระจกตาได้อย่างเรียบเนียน มีความแม่นยำและปลอดภัยมากกว่าวิธีแรก ทำให้สามารถแก้ไขสายตาสั้นในคนไข้ที่มีกระจกตาบางได้

PRK (Photorefractive keratectomy)

เป็นวิธีการรักษาสายตาสั้น ยาว เอียง โดยการใช้ใบมีดขูดที่ผิวกระจกตาออกก่อนยิงเลเซอร์เพื่อแก้ไขสายตา วิธีนี้ไม่มีการแยกชั้นฝากระจกตาทำให้หลังการรักษาเนื้อกระจกตาจะหายแบบไร้รอยต่อ การมองเห็นคมชัด แต่หลังผ่าตัดโดยวิธีนี้จะมีอาการปวดตามากกว่า LASIK ในช่วง 2-3 วันแรก วิธีการนี้จะเหมาะสำหรับผู้ที่มีสายตาสั้นไม่มาก ผู้ที่ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงจะเกิดการกระแทกที่ดวงตา เช่น ทหาร ตำรวจ นักกีฬา หรืออาชีพที่ไม่ต้องการเห็นร่องรอยการผ่าตัดแก้ไขสายตา เช่น นักบิน เป็นต้น

เครื่องเลเซอร์ที่เราใช้มีเทคโนโลยีทันสมัยล่าสุดและแม่นยำสูงสุดดังนี้

  • • เครื่องเลเซอร์เฟมโต (Femtosecond laser) : Wavelight FS200 Femtosecondlaser – ALCON ใช้ในการแยกชั้นกระจกตาแทนใบมีดสามารถแยกชั้นกระจกตาด้วยความเร็วสูงเพียง6 วินาทีและสามารถกำหนดความหนาของฝากระจกตาได้แม่นยำสูงสุดทำให้คนไข้ที่มีภาวะกระจกตาบางมีโอกาสที่จะทำเลสิกได้ นอกจากนั้นการมองเห็นจะกลับมาชัดเจนเพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมงหลังผ่าตัด
  • • เครื่องเอ็กไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer laser) : Allegretto Wavelight Eye-Q 400 Hze-ALCON มีคุณสมบัติดังนี้
  • • Gaussian beam ลักษณะเลเซอร์ที่ถูกปล่อยออกมามีขนาดเล็กสามารถเจียกระจกตาได้อย่างเรียบเนียนและแม่นยำ
  • • Wavefront Optimized &Wavefront guided technology ทำให้การมองเห็นหลังผ่าตัดดีเยี่ยมลดอาการแสงแตกกระจายในเวลากลางคืน
  • • Pulse Optimization ยิงเลเซอร์ด้วยความเร็วสูง 400 ครั้งต่อวินาทีสามารถแก้ไขสายตาสั้นได้ใน 2 วินาทีต่อค่าสายตา 1 diopter (เช่นสายตาสั้น 400 ใช้เวลาเพียง 8 วินาทีในการยิงเลเซอร์)
  • • High speed Eye Tracking ระบบตรวจจับการเคลื่อนไหวของลูกตาความเร็วสูงทำให้ยิงเลเซอร์ได้แม่นยำสูงแม้จะมีการกลอกตา
  • • NeuroTrack, Cross Line Projector ระบบช่วยควบคุมการหมุนของลูกตาขณะนอนราบ

Intrastromal corneal ring segments implantation

Intrastromal corneal ring segments implantation คือ การฝังวงแหวนในเนื้อกระจกตาเพื่อรักษาโรคกระจกตาโป่งนูน (keratoconus) เป็นการผ่าตัดที่ทำในผู้ป่วยโรคกระจกตาโป่ง(Keratoconus) กระจกตาย้วย (Pellucid Marginal Degeneration) กระจกตาโป่งหลังทำเลสิค (Post-LASIK Ectasia) และสายตาเอียงหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา (High Astigmatism Post Keratoplasty)

Intracorneal ring คือ วงแหวนที่ทำมาจากสารพอลิเมทิล เมทาคริเลต (Polymethyl Methacrylate: PMMA) ซึ่งเป็นวัสดุเดียวกันกับที่ใช้ในการผลิตเลนส์ตาเทียม ไม่เกิดการติดเชื้อได้ง่าย และไม่มีความเสี่ยงต่อการต่อต้านภายในร่างกายมนุษย์ ทั้งนี้ ยังได้มีการปรับปรุง เพื่อลดเรื่องของแสงกระจายตอนกลางคืนด้วยการใช้วงแหวนที่เป็นสีเหลืองใส สำหรับวงแหวนดังกล่าวจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตร และหนาตั้งแต่ 100 – 300 ไมครอนขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคกระจกตาโป่ง เมื่อผ่าตัดใส่เข้าไปในชั้นกระจกตาแล้ว วงแหวนก็จะทำหน้าที่ขึงกระจกตาที่มีปัญหาโป่งนูนให้แบนลงและตึงขึ้น โค้งเข้ารูปมากขึ้น

ข้อดีของการใส่วงแหวน

  1. 1. เป็นการผ่าตัดที่ไม่ผ่านตรงกลางของกระจกตา ทำให้กระจกตรงกลางคงความใสเหมือนเดิม ตัวกระจกตาจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวร กล่าวคือ เมื่อเอาวงแหวนดังกล่าวออก จะทำให้กระจกตามีความโค้งกลับมาใกล้เคียงเดิมก่อนผ่าตัด
  2. 2. ใช้เวลาในการผ่าตัดไม่นาน ไม่ต้องฉีดยาใด ๆ เพียงหยอดยาชา ผู้ป่วยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล แผลผ่าตัดเล็กเพียงหนึ่งมิลลิเมตร ขั้นตอนตลอดการผ่าตัดทั้งหมดไม่ทำให้เจ็บหรือปวด ใช้เวลาเพียง 10 นาที และภายใน 1 สัปดาห์ คนไข้สามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติ ซึ่งเมื่อใส่วงแหวนแล้ว ผู้ป่วยยังสามารถใส่ร่วมกับแว่นตา คอนแท็ค เลนส์หรือเลนส์เสริมได้ด้วย
  3. 3. ไม่จำกัดอายุ  สามารถรักษาผู้ป่วยที่ประสบปัญหาโรคกระจกตาโป่ง ทำให้มีปัญหาสายตาสั้นปานกลางถึงมาก และมีค่าสายตาเอียงแบบไม่มีระเบียบ หรือผู้ป่วยที่มีสายตาเอียงหลังการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีการเปลี่ยนค่าสายตาสั้นหรือเอียง อย่างรวดเร็ว และไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยแว่นตาหรือทนต่อการใส่คอนแท็ค เลนส์ ได้ หรือใส่แล้วหลุดบ่อย การใส่วงแหวนในผู้ป่วยกลุ่มนี้จะช่วยให้การมองเห็นดีขึ้น

การผ่าตัดทำได้ 2 วิธี

วิธีแรก – เป็นการผ่าตัดโดยไม่ใช้เลเซอร์ แผลผ่าตัดขนาดหนึ่งมิลลิเมตรจะถูกสร้างโดยมีดเพชร (diamond knife) ลงบนกระจกตา และเซาะร่องในกระจกตาด้วยเครื่องมือพิเศษในชั้นของกระจกตาลึกประมาณ 70-80% จากผิวตาหลังจากนั้นจึงใส่วงแหวนตาม

วิธีที่สอง – เป็นวิธีที่ใช้เลเซอร์ (Femtosecond laser) ช่วยในการเซาะร่อง เลเซอร์จะช่วยทำให้เกิดร่องและแผลเช่นเดียวกับวิธีแรกข้อดีของการใช้เลเซอร์คือทำให้ได้ความลึกที่แม่นยำกว่าและ กระจกตาแห้งน้อยกว่า

สำหรับการดูแลหลังผ่าตัด งดน้ำเข้าตาประมาณสองสัปดาห์ ห้ามขยี้ตาเนื่องจากอาจทำให้วงแหวนเคลื่อนได้ สายตาจะคงที่ประมาณสามเดือนหลังผ่าตัด

Intraocular contact lens (ICL)

Intraocular contact lens (ICL) คิือ เลนส์เสริมชนิดใส่ถาวรในดวงตา สามารถแก้ไขปัญหาในผู้ที่สายตาผิดปกติมากโดย

  • • แก้สายตาสั้นได้ถึง 1,800
  • • สายตาเอียงถึง 600
  • • สายตายาวถึง 1,000

และผู้ที่ไม่สามารถทำ LASIK ได้ โดยสามารถใส่ในดวงตาได้ด้วยวิธีการผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL ซึ่งทำมาจากวัสดุที่ชื่อว่า Collamer ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษ คือ มีความยืดหยุ่นและเข้ากับร่างกายได้ดี สามารถอยู่ในลูกตาได้อย่างถาวร หลังจากทำการผ่าตัดทำให้ภาพที่มองเห็นมีความคมชัด เกิดภาวะแสงกระจายและเห็นรัศมีรอบดวงไฟน้อย นอกเหนือจากนั้นยังช่วยกรองแสงยูวีซึ่งเป็นอันตรายต่อจอประสาทตาอีกด้วย

ผู้ที่เหมาะสำหรับการใส่ ICL

  1. 1. ผู้ที่มีอายุระหว่าง 21-45 ปี
  2. 2. มีความผิดปกติทางสายตา ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีเลสิกได้ มีสายตาคงที่เปลี่ยนแปลงไม่เกิน 0.5 D ในระยะเวลา 1 ปี
  3. 3. ภาวะตาแห้ง หรือ กระจกตาบาง หรือมีขนาดรูม่านตาที่กว้างเกินไป
  4. 4. ไม่มีประวัติโรคทางตา เช่น ต้อหิน ม่านตาอักเสบ ต้อกระจก จอประสาทตาฉีกขาดและหลุดออก โรคกระจกตาโค้งผิดรูป เป็นต้น

เพราะ #เราไม่อยากให้ใครป่วย

-------------------------------------------------------------------------

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line Official Account: @samitivejthonburi 


สถานที่ตั้ง : อาคาร A ชั้น 2
ติดต่อศูนย์ : 02-408-011

บทความประจำศูนย์

ดูทั้งหมด