การปรับเปลี่ยนโภชนาการและการเปลี่ยนอาหาร

16 กุมภาพันธ์ 2567

นายแพทย์ ศาสตรา ทัพศาสตร์

         หลังการผ่าตัด แอนนาค่อยๆ ปรับพฤติกรรมการกินซึ่งเปลี่ยนจากอาหารเหลวใสไปเป็นอาหารที่แข็งมากขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าหลังการผ่าตัดแล้วกระเพาะอาหารของเธอจะหายเป็นปกติและไม่มีภาวะแทรกซ้อน

          ในระยะแรก แอนนาเริ่มต้นด้วยของเหลวใส ซึ่งสำคัญเนื่องจากรักษาระดับน้ำที่ร่างกายต้องการและยังคงให้กระเพาะอาหารทำงานไม่หนักมากในการย่อยอาหาร ขั้นตอนนี้อาจใช้เวลาหลายวัน ในระหว่างที่แอนนาดื่มน้ำ น้ำซุป และเครื่องดื่มเสริมเกลือแร่ปราศจากน้ำตาล “ร่างกายคนเราประกอบด้วยน้ำส่วนใหญ่ และแกต้องการน้ำจำนวนมาก แอนนา ดูขนาดตัวแกสิ" เธอเตือนตัวเอง

          เริ่มเปลี่ยนเป็นอาหารที่แข็งขึ้น ซึ่งยังต้องบดละเอียด เป็นส่วนผสมของอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อไม่ติดมัน ถั่ว และผักเนื้ออ่อน ทั้งหมดนี้บดให้ละเอียดเพื่อให้ย่อยง่าย “ยาสมานแผลแบบในหนังน่ะไม่มีหรอก มีแต่ไอ้นี่”

          หลังจากนั้นแอนนาเริ่มกินอาหารอ่อนที่ต้องเคี้ยงมากขึ้น เธอเริ่มสังเกตเองได้ว่านี่เป็นอาการของการที่ร่างกายเริ่มอิ่ม ผักเนื้อนิ่ม ผลไม้ และโปรตีนไร้ไขมันคำเล็กๆ ที่เคี้ยวง่ายกลายเป็นอาหารจานหลักของเธอ เธอระวังความไม่สุขสบายของทางเดินอาหาร และปรับช่วงเวลาการการกินและขนาดมื้ออาหารให้เหมาะสม

          แอนนาต้องระวังภาวะขาดสารอาหาร ซึ่งอาจพบบ่อยหลังการผ่าตัดลดความอ้วน เนื่องจากการรับประทานอาหารลดลงและการดูดซึมสารอาหารเปลี่ยนแปลงไป นักโภชนาการให้ความมั่นใจเธอได้ว่าอาหารของเธอจะต้องเสริมด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็น ได้แก่ วิตามินบี 12 เหล็ก แคลเซียม และวิตามินดี “ครั้งแรกในชีวิตของฉันที่มีคนกังวลเรื่องฉันจะขาดสารอาหารเลยนะเนี่ย”

          การฟื้นตัวของเธอได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิด โดยทีมผ่าตัดของเธอประเมินผลการรักษาของเธอ การปรับเรื่องพฤติกรรมการกินอาหารที่สม่ำเสมอ และภาวะแทรกซ้อนใดๆ เช่น อาการคลื่นไส้ กรดไหลย้อน หรืออาการ Dumping syndrome คือมีอาการคลื่นไส้และวิงเวียนศีรษะ

บทความโดย

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
นพ. ศาสตรา ทัพศาสตร์
ความชำนาญ : แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาศัลยศาสตร์ทั่วไป