"อัลไซเมอร์" รู้เร็ว รักษาเร็ว ช่วยดูแลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้

05 ตุลาคม 2566

นายแพทย์ เอกรัชช์ นเรศเสนีย์

           การมีความทรงจำเป็นความสามารถนึงของสมอง ที่บันทึกข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้วเรารับรู้มาเก็บไว้ ซึ่งตัวเราก็สามารถเรียกกลับมาใช้ได้ตามต้องการ

          ความทรงจำเป็นสิ่งสำคัญมากในการใช้ชีวิตของมนุษย์ เราคงนึกภาพไม่ออกเลยว่าเราจะใช้ชีวิตเป็นปกติสุขได้อย่างไรหากเราไม่มีความจำเรื่องราว ข้อมูลต่างๆ อยู่เลย 

         เป็นเรื่องปกติที่ข้อมูลความจำของคนเรานั้นจะค่อยๆ หายไปตามกาลเวลา ตามอายุของเราที่มากขึ้น มากบ้างน้อยบ้าง จำผิดบ้างถูกบ้าง เพราะสมองเราไม่ได้จดจำสิ่งต่างเหมือนคอมพิวเตอร์หรือภาพถ่ายของกล้องวีดีโอ แต่หลายครั้งความทรงจำที่หายไปมันไม่ได้เป็นไปตามธรรมชาติ มันกลับเกิดจากโรคบางอย่างที่ไปรบกวนหรือทำลายสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ

        มีโรคหลายอย่างที่ทำให้คนเราหลงลืมมากผิดปกติจนกระทบกับการใช้ชีวิต การทำงานและหลายโรคจะดำเนินไปเรื่อยๆอย่างไม่หยุดยั้งหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ถึงแม้เราคาดเดาไม่ได้ว่าโรคแต่ละโรคจะเกิดกับใครและเมื่อไหร่ แต่มันคงจะดีมากถ้าเมื่อโรคเกิดขึ้นแล้ว เราได้รับการวินิจฉัยและได้รับการรักษาโดยเร็วตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

       ถึงแม้ปัจจุบันโรคสมองเสื่อมส่วนใหญ่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เช่น โรคอัลไซเมอร์ แต่ทางการแพทย์ก็มีวิธีดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีตามอรรภาพของแต่ละบุคคลได้ นอกจากนั้นก็ยังมีโรคอื่นๆที่สามารถรักษาได้อีกด้วย เช่นโรคฮอร์โมนไทรอยด์ผิดปกติ โรคขาดวิตามินบางชนิด โรคติดเชื้อบางอย่าง เป็นต้น
 
      โปรแกรมการตรวจ Initial Dementia Screening ถูกออกแบบมาเพื่อ ผู้คนที่มีอายุเกิน18 ปีขึ้นไป ที่เริ่มมีปัญหาเรื่องความทรงจำ ไม่ว่าจะเป็นตัวเองรู้สึกได้หรือคนรอบข้างสังเกตเห็น ในโปรแกรมนี้จะทำการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นต่างๆ ที่จำเป็นของผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องความทรงจำ ประกอบไปด้วย การตรวจความสามารถของสมองในเรื่องความจำในแง่มุมต่างด้วยแบบทดสอบมาตรฐาน, การเจาะเลือดเบื้องต้นเพื่อหาความผิดปกติที่อาจกำลังรบกวนการทำงานของสมอง และการx rayสมองด้วยเครื่องMRI  ที่จะช่วยหาโรคที่อาจรักษาหรือบรรเทาได้ในปัจจุบัน เมื่อได้ผลการตรวจแล้วผู้เข้ารับการตรวจจะได้ฟังผลการตรวจทั้งหมดและปรึกษาพูดคุยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางระบบประสาทเพื่อความเข้าใจและร่วมกันเลือกแผนการปฏิบัติตัวหรือแผนการตรวจรักษาที่เหมาะสมต่อไป

 
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
 
  เพิ่มเพื่อน

บทความโดย

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
นพ. เอกรัชช์ นเรศเสนีย์
ความชำนาญ : แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาอายุศาสตร์ระบบประสาท