รักษาโรคแพ้อาหารด้วย Oral Immunotherapy (OIT)

01 สิงหาคม 2565

แพทย์หญิง จุฬามณี วงศ์ธีระญาณี

 

HIGHLIGHTS:
  • Oral Immunotherapy (OIT) คือ วิธีการรักษาโรคแพ้อาหาร โดยให้รับประทานอาหารที่แพ้ทีละน้อยในระดับที่ปลอดภัย เพื่อสังเกตอาหารของผู้ป่วย
  • เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอายุ มากกว่า 5 ปีขึ้นไป หรือผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้อาหารรุนแรง นอกจากนี้ยังเหมาะกับการรักษาการแพ้อาหารประเภท นมวัว ไข่ แป้งสาลี ถั่วลิสง เป็นต้น
  • วิธีนี้จะช่วยทำให้ผู้ป่วยทนต่อการรับประทานอาหารที่เคยแพ้ หรือหายจากโรคแพ้อาหาร ซึ่งทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
 


การรักษาการแพ้อาหาร ด้วยการปรับเปลี่ยนภูมิต้านทาน โดยวิธีรับประทาน (Oral Immunotherapy, OIT) คือ วิธีการรักษาโรคแพ้อาหาร โดยให้รับประทานอาหารที่แพ้ทีละน้อยในระดับที่ปลอดภัย หรือไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ แล้วค่อยๆ ปรับเพิ่มอาหารนั้นเป็นระยะ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ  เนื่องจากวิธีการรักษารูปแบบนี้เป็นวิธีที่ค่อนข้างใหม่ เหมาะสำหรับรักษาการแพ้อาหาร เช่น นมวัว ไข่ แป้งสาลี ถั่วลิสง เป็นต้น
 

ข้อดีของการรักษาการแพ้อาหาร ด้วยการปรับเปลี่ยนภูมิต้านทาน โดยวิธีรับประทาน มีดังนี้
ช่วยลดความเสี่ยงต่อการแพ้อาหาร ในกรณีที่เป็นการปนเปื้อนอาหารนอกบ้าน
ทำให้ผู้ป่วยทนต่อการรับประทานอาหารที่เคยแพ้ได้ (Tolerance) หรือ หายจากโรคแพ้อาหาร (Sustain unresponsiveness)
ทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
 
 การรักษาด้วยวิธีนี้เหมาะกับใคร ?
ผู้ป่วยที่มีอายุ มากกว่า 5 ปีขึ้นไป ซึ่งโดยส่วนมากผู้ป่วยกลุ่มนี้จะไม่สามารถรักษาให้หายจากการแพ้อาหารได้
ผู้ป้วยที่มีค่าระดับการแพ้อาหารที่ค่อนข้างสูง ซึ่งโอกาสหายได้เองตามธรรมชาติเกิดขึ้นได้ยาก
ผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้อาหารรุนแรง ทั้งที่พยายามหลีกเลี่ยงอย่างดีแล้ว (แต่อุบัติเหตุรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสิ่งที่แพ้เข้าไป)
ผู้ป่วย หรือผู้ปกครองที่เข้าใจวิธีการและขั้นตอนการรักษา รวมทั้งมีความต้องการจะรักษาด้วยวิธี OIT

ในปัจจุบันการรักษาโรคแพ้อาหารด้วยการปรับเปลี่ยนภูมิต้านทาน โดยวิธีรับประทาน มีแพร่หลายในต่างประเทศ แต่ในประเทศไทยมีเพียงไม่กี่โรงพยาบาลที่สามารถรักษาการแพ้อาหารด้วยวิธีนี้ได้  ดังนั้นสถาบันโรคภูมิแพ้ (Samitivej Allergy Institute, SAI) โรงพยาบาลสมิติเวช ธนบุรี  มีความมุ่งมั่นและตั้งใจในการดูแลรักษาผู้ป่วยแพ้อาหาร ให้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับสารอาหารและคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความมั่นใจ และความปลอดภัยจากการแพ้อาหารที่เคยเป็น แต่ก่อนที่จะเข้ารับการรักษาการแพ้อาหาร เราก็ควรตรวจหาสารแพ้ในอาหารที่เราแพ้ให้แน่ชัดก่อนนะคะ เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างสม

โปรแกรมที่เกี่ยวข้อง : โปรแกรมตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ในอาหาร แบบสะกิดผิวหนัง
 

​สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : สถาบันโรคภูมิแพ้
โทร : 02-408-0111

เพิ่มเพื่อน

บทความโดย

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
พญ. จุฬามณี วงศ์ธีระญาณี
ความชำนาญ : แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน