ปัญหาผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบ ปัญหาของเด็กๆ ที่ไม่ใช่เรื่องเล็กอีกต่อไป

29 พฤษภาคม 2566

แพทย์หญิง ภัทรา ตันติเจริญวิวัฒน์


 ผื่นแพ้ในลูกน้อย (Atopic Dermatitis) ปัญหากวนใจของพ่อ แม่ รักษาอย่างไรดี คุณหมอมีคำตอบคะ ^_^
 
                ปัญหาผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบ Atopic Dermatits ปัญหาของเด็กๆ ที่ไม่ใช่เรื่องเล็กอีกต่อไป คุณพ่อคุณแม่หลายท่านคงกังวลไม่มากก็น้อย ที่ลูกน้อยของเรา เดี่ยวก็คัน เดี่ยวก็เป็นผด เดี่ยวก็ผื่นขึ้นเกา คัน เป็นๆหายๆ จนเป็นแผล ผิวแห้งลอก  มีรอยดำ ถึงผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบเหล่านี้ จะไม่ได้เป็นอันตราย เพราะไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ หรือเป็นอันตรายร้ายแรงแต่ก็สร้างความรำคาญให้เป็นอย่างมาก และส่งผลระยะยาวในแง่ แผลเป็น รอยด่างดำ ผิวหนังแห้งด้าน และอาจส่งผลต่อบุคลิกในการเข้าสังคม และสมาธิในการเรียนของลูกน้อยได้ด้วย วันนี้หมอได้รวบรวมคำถามและข้อสงสัยที่พบบ่อยมาตอบนะคะ

1. อาการผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบเกิดจากอะไร?

               ผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบ เกิดจาก โครงสร้างผิวหนังเสียสมดุล ทำให้เกิดการระเหยของน้ำออกจากผิวมาก เมื่อน้ำระเหยออกจากผิวหนังมาก ก็ทำให้ผิวแห้ง แดง คัน และเกิดการอักเสบ ตามมา ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจาก ปัจจัยภายในโครงสร้างผิวหนังเสียสมดุลเอง หรือ ปัจจัยกระตุ้นจากสารก่อภูมิแพ้ภายนอกก็ได้

2. เราจะสามารถทราบได้ไหมคะว่าเป็นผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เกิดจากแพ้สารอะไร ?

              ปัจจุบันมีการเทส ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการแพ้หลายวิธี เช่น ทำ skin prick test , ตรวจหาspecific Ig E จากเลือด ซึ่งขั้นตอนง่ายไม่ยุ่งยาก เหมือนเจาะเลือดตรวจสุขภาพทั่วไป สามารถทดสอบสารก่อภูมิแพ้ ทั้งอาหารและสิ่งแวดล้อมได้

3. ส่วนใหญ่สาเหตุของการแพ้มักเกิดจากสารก่อภูมิแพ้อะไรคะ ?

              ในเด็กเล็ก ส่วนใหญ่ถ้าเป็นจากอาหาร อาจเกิดจาก นม ไข่ ถั่ว แป้งสาลี ก็เป็นได้คะ
ในเด็กโตและผู้ใหญ่ มักเป็นสารแพ้ในสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่ก็อาจจะเป็นไรฝุ่นบนที่นอน แมลงสาบ ละอองเกสรดอกไม้ น้ำหอม สารเคมีก่อภูมิแพ้ต่างๆคะ

4. อาการของโรคผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบมีอะไรบ้างคะ ?

               อาการของโรคผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบ มักมาด้วย อาการ ผิวแห้ง แดง คัน เป็นตุ่มหรือเป็นผดนูน ซึ่ง ส่วนใหญ่ ในเด็กเล็กจะเป็นตาม แก้ม ซอกคอ ข้อพับแขน ข้อพับขา เด็กๆก็จะคันมาก และจะเกา จนถ้าเป็นนานๆอาจมีแผลเลือดออก และเป็นแผลเป็นอาจเกิดรอยดำ

5. 
ปัจจุบันมีวิธีการรักษาโรคผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบ อย่างไรบ้าง ?

       วิธีการรักษาโรคผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบ จะมี 3 ขั้นตอนที่จะต้องทำการรักษาควบคู่กันไปพร้อมๆกันคะ

  • หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง  ลดการอาบน้ำที่อุณหภูมิที่ร้อนไป หรือเย็นจนเกินไป หลีกเลี่ยง อาหารที่สงสัยว่าแพ้ หลีกเลี่ยงน้ำหอม สารเคมีต่างๆ ซัก ทำความสะอาดผ้าปูที่นอน ผ้าห่มให้สะอาด

  • ในช่วงที่ผื่นกำเริบ ทำให้มี อาการคันมาก อาจต้องพบแพทย์ เพื่อรับยาทาลดการอักเสบ จำพวก steroid และ antihistamine เพื่อลดการคัน การอักเสบ แต่การใช้ยาจำพวกนี้ ต้องอยู่ในความควบคุมของแพทย์
  • ครีมกลุ่มลดการอักเสบ ที่ไม่ใช่ steroid ปัจจุบัน มียา ครีมใหม่ๆที่ช่วยลดการอักเสบ และบำรุงผิว ลดการเสียสมดุลของผิวหนัง  ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ซึ่งสามารถใช้นานได้อย่างปลอดภัย ช่วยลดการอักเสบ และป้องกันการระเหยของน้ำออกจากผิว สามารถใช้ลดการอักเสบและบำรุงผิวได้นาน อย่างปลอดภัย
  • หลังจากอาการคันและอาการผื่นดีขึ้นแล้ว เราสามารถใช้ ยากลุ่มลดการอักเสบ ที่ไม่ใช่ steroid ที่เป็น moisture เข้มข้น ทาทุกวันหลังอาบน้ำ หรือทาบำรุงผิว เพื่อป้องกันการผิวแห้ง หรือป้องกันการเกิดผดผื่นได้หรือไม่ ครีมกลุ่มนี้ใช้นานเป็นอันตรายไหม

                 สามารถใช้ได้คะ และควรใช้ครีมบำรุงที่มีส่วนผสมของสารที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว เก็บกักน้ำให้ผิว เพื่อลดการอักเสบ ลดผดผื่นคัน ให้ผิวนุ่มชุ่มชื้นอยู่เสมอ เพื่อลดการเสียสมดุลของเซลล์ผิวคะ ครีมที่ไม่มี สเตียรอยด์ สามารถใช้นานได้อย่างปลอดภัยคะ แต่ทางที่ดีสำหรับเด็กควรใช้ครีมที่ ไม่มีน้ำหอม และไม่มีสารกันเสียด้วยคะ

6. โรคผื่นแพ้ในเด็ก หายเองได้ไหมคะ ?

                 ผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบ โดยปกติ เมื่อลูกน้อยโตขึ้น อาการเหล่านี้จะค่อยๆดีขึ้นเอง มากกว่า 80 % คะแต่การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ก็ยังจำเป็นอยู่คะ

7. ผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบในเด็กเล็กป้องกันได้ไหมคะ ?

                ได้ค่ะ งานวิจัยในปัจจุบันพบว่า แม้แต่ในทารกกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรค หากได้รับการดูแลผิว ด้วยการทาmoisturer ที่มี ceramide , มี fatty acid อย่างน้อยวันละครั้งอย่างสมำเสมอ ตั้งแต่อายุ 2 เดือนแรก ของชีวิต สามารถลดการเกิดโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังได้ค่ะ  ...... ดังนั้น ถึงแม้ลูกน้อยของเรายังไม่ได้เป็นผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เราก็เริ่มดูแลผิวลูกน้อยได้เลยค่ะ

สอบถามเพิ่มเติม  / นัดหมายพบแพทย์

เพิ่มเพื่อน

บทความโดย

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
พญ. ภัทรา ตันติเจริญวิวัฒน์
ความชำนาญ : โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน