รู้ไหมว่า...โรคหอบหืด รักษาได้

08 พฤษภาคม 2566

แพทย์หญิง นันทนัช หรูตระกูล

ปัจจุบันการรักษาโรคหอบหืด หรือโรคหืด มียาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยควบคุมอาการได้ดีขึ้น ช่วยลดอัตราการนอนโรงพยาบาล รวมถึง ลดอัตราการเสียชีวิตได้ !!!

 

“ยาใหม่ๆ มีอะไรบ้าง เช่น ยาฉีดชีวโมเลกุล ช่วยคุมอาการโรคหืดได้ดีขึ้น และวัคซีนภูมิแพ้ โดยฉีดสารที่ผู้ป่วยแพ้เข้าร่างกายปริมาณน้อย และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนร่างกายทนทานต่อสารที่แพ้นั้นๆ”


โรคหอบหืดคืออะไร

  • ภาวะที่มีการตีบแคบของหลอดลม เกิดจากการที่หลอดลมอักเสบ และไวต่อสิ่งกระตุ้น เช่น สารก่อภูมิแพ้ การออกกำลังกาย การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ และการติดเชื้อทางเดินหายใจ รวมไปถึงสารระคายเคือง มลพิษต่างๆ เช่น ควันบุหรี่ และฝุ่น PM

  • มักพบร่วมกับโรคภูมิแพ้อื่นๆ เช่น ผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ เยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ แพ้อาหาร และมีประวัติพ่อ แม่ พี่ น้องเป็นโรคหืด
     

อาการของโรคหืด และอาการที่น่าสงสัยว่าอาจจะเป็นโรคหืด

  • หายใจมีเสียงหวีด แน่นหน้าอก ไอ หอบ เหนื่อย มักจะเกิดขึ้นในเวลากลางคืนหรือตอนเช้า

  • อาการมากขึ้น หลังจากได้รับสารก่อภูมิแพ้ เช่น หืดกำเริบหลังจากเล่นกระโดดบนเตียง เกิดจากได้รับไรฝุ่นที่ฟุ้งจากเตียง การออกกำลังกาย หัวเราะมากๆ

  • อาการมักจะดีขึ้นหลังได้รับยาขยายหลอดลม
     

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

  • การตรวจสมรรถภาพปอด (Spirometry) เพื่อยืนยันความผิดปกติของสมรรถภาพปอด สามารถตรวจได้ในเด็กโตอายุมากกว่า 6 ปีขึ้นไป

  • การตรวจวัดการอักเสบของทางเดินหายใจ (FENO; Fractional exhaled nitric oxide)

  • การตรวจหาสารก่อภูมิแพ้โดยการสะกิดผิวหรือการตรวจเลือด (skin test or blood test Specific IgE)

  • การตรวจภาพรังสีทรวงอก (chest X-ray) ช่วยในการแยกโรคอื่นที่อาการคล้ายโรคหืด

  • การตรวจดูเซลล์อักเสบจากเสมหะ

  • การตรวจความไวของหลอดลม (Methacholine challenge test)
     

การรักษาโรคหืด เป้าหมายหลักคือควบคุมอาการโรคหืดได้

  • การรักษาด้วยยา

    • ยาสูดพ่น ปัจจุบันยังคงเป็นยาหลักในการรักษาโรคหืด แบ่งเป็น 2 ชนิด

      • ยาสูดพ่นฉุกเฉิน จะใช้เฉพาะกรณีที่มีอาการหืดกำเริบเท่านั้น

      • ยาสูดพ่นควบคุมอาการ เพื่อควบคุมอาการ แนะนำให้ปรับยาภายใต้การดูแลของแพทย์

    • ยาอื่นๆ

      • ยารับประทานบรรเทาอาการ

      • ยาฉีดชีวโมเลกุล (Biologic agent) จะเลือกใช้กรณีที่หืดเป็นรุนแรง และไม่สามารถควบคุมอาการได้ด้วยยาทั่วไป

      • ภูมิคุ้มกันบำบัด หรือวัคซีนภูมิแพ้ (Allergen Immunotherapy) จะเริ่มรักษาด้วยวิธีนี้ได้ หากสามารถควบคุมโรคหืดได้ดีแล้ว

      • รักษาโรคร่วมอื่นๆ เช่น เยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ไซนัส กรดไหลย้อน และความเครียด

      • วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนปอดอักเสบ

  • การรักษาเพิ่มเติมโดยวิธีอื่นๆที่ไม่ใช่ยา

    • การให้ความรู้

      • ให้ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคหืด สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย และการดำเนินโรค

      • หลักในการรักษาโรคหืดด้วยยาและการรักษาเพิ่มเติมโดยวิธีอื่นๆที่ไม่ใช่ยา โดยอธิบายให้ทราบถึงชนิดของยา และผลข้างเคียงของยาแต่ละชนิด และวิธีการใช้ยาที่ถูกต้อง

      • ผู้ป่วยสามารถรักษาตนเองเบื้องต้นตามแผนการดูแลตนเองของผู้ป่วยแต่ละราย

    • หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ ควัน มลภาวะ เช่น การใส่หน้ากากป้องกันฝุ่น PM2.5 และหลีกเลี่ยงกิจกรรม นอกอาคารในวันที่คุณภาพอากาศไม่ดี

    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ หรือโยคะ

 
                  หากท่านมีอาการที่สงสัยว่าอาจจะเป็นโรคหืด ต้องการรักษาโรคหืดที่ครบวงจร รวมถึงโรคหืดที่ยังควบคุมอาการไม่ได้ ทางสถาบันโรคภูมิแพ้สมิติเวช รพ.สมิติเวช ธนบุรี มีเครื่องมือในการวินิจฉัยที่ทันสมัย ครบถ้วน รวมไปถึงยารักษารูปแบบใหม่ที่สามารถรักษาโรคหอบหืดที่รุนแรงได้ ไม่ว่าจะเป็นยาฉีดชีวโมเลกุล รวมไปถึงวัคซีนภูมิแพ้

 

References:

  1. Global Strategy for Asthma Management and Prevention (updated 2023) [Internet]. Available from: https://ginasthma.org/gina-reports/.

  2. แนวทางการวินิจฉัย และรักษาโรคหืดในประเทศไทย สำหรับผู้ป่วยเด็ก (ฉบับสมบูรณ์) พ.ศ. 2564

  3. แนวทางการรักษาโรคหืดสำหรับผู้ใหญ่ในประเทศไทย 2565

  4.  

สอบถามเพิ่มเติม  / นัดหมายพบแพทย์

เพิ่มเพื่อน

บทความโดย

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
พญ. นันทนัช หรูตระกูล
ความชำนาญ : แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยา