การแพ้อาหารรุนแรง บทเรียนราคาแพง ที่อาจถึงแก่ชีวิต

25 เมษายน 2566

แพทย์หญิง นันทนัช หรูตระกูล


 


​ความสำคัญของ " โรคแพ้อาหาร "
   
       ในปัจจุบันพบว่า โรคแพ้อาหารมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา โดยพบว่าอัตราการเกิดการแพ้อาหารในเด็กที่อายุน้อยกว่า18 ปี เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 3.4 เป็น ร้อยละ 5.1  ในปี ค.ศ. 1997 ถึงปี  ค.ศ. 2011 ตามลำดับ ซึ่งคิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นสูงถึง ร้อยละ50
     
       โรคแพ้อาหารมักพบได้บ่อยในเด็ก แต่สามารถเกิดการแพ้อาหารในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน นอกจากจะทำให้ต้องเลี่ยงอาหารที่แพ้ ซึ่งส่งผลให้ขาดสารอาหาร และยังทำให้ผู้ป่วยเครียด วิตกกังวล  รวมไปถึงผู้ปกครองที่บางครอบครัว ต้องลาออกจากงานเพื่อมาทำอาหารให้ผู้ป่วย โรคนี้มีอันตรายอย่างมาก หากไม่ได้รับการวินิจฉัย และไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม  อาจทำให้เกิดการแพ้รุนแรง (anaphylaxis) ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

สาเหตุที่พบบ่อย ที่เราเรียกกันว่า “Top 8” ได้แก่
  • นมวัว ไข่ (ไข่ขาวและไข่แดง) ถั่วเหลือง แป้งสาลี ถั่วลิสง ถั่วเปลือกแข็ง อาหารทะเล และปลา
  • นมวัวและไข่เป็นสาเหตุของการแพ้อาหารมากที่สุดในเด็กเล็ก
  • อาหารทะเลโดยเฉพาะกุ้งเป็นอาหารที่พบได้มากในเด็กโต

อาการ มี 4 ระบบ ได้แก่
  • ระบบผิวหนัง เช่น ผื่นลมพิษ ตาบวม ปากบวม (พบได้บ่อยที่สุด)
  • ระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ หอบ
  • ระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น ความดันต่ำ หรือหมดสติ
  • ระบบทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้อง อาเจียน และถ่ายเหลว

การรักษา
  • พบแพทย์ เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องเหมาะสม
  • เลี่ยงอาหารที่แพ้ อ่านฉลากอาหารเสมอ
  • หากบุตรหลานของท่านมีภาวะแพ้อาหารรุนแรง ควรได้รับการสอนการฉีดยาอะดรีนาลีน 
  
เอกสารอ้างอิง
  1. Jackson KD, Howie LD, Akinbami LJ. Trends in allergic conditions among children: United States, 1997-2011. NCHS Data Brief. 2013:1-8.
  2. Peters RL, Krawiec M, Koplin JJ, Santos AF. Update on food allergy. Pediatr Allergy Immunol. 2021;32:647-57.
  3. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการดูแลผู้ป่วยที่มีการแพ้ชนิดรุนแรง พ.ศ.2560                                                                                     


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : สถาบันโรคภูมิแพ้สมิติเวช รพ.สมิติเวชธนบุรี
โทร. 02-408-0111​

สอบถามเพิ่มเติม  / นัดหมายพบแพทย์

เพิ่มเพื่อน

บทความโดย

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
พญ. นันทนัช หรูตระกูล
ความชำนาญ : แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยา