"อะดรีนาลีน" สิ่งสำคัญ สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะแพ้รุนแรง

25 เมษายน 2566

แพทย์หญิง นันทนัช หรูตระกูล

​​

 

การฉีดยา "อะดรีนาลีน"
 

ความสำคัญของยา อะดรีนาลีน (Adrenaline) หรือ อิพิเนฟริน (Epinephrine)

          เป็นยาฉีดที่  มีความสำคัญที่สุด  ที่จำเป็นอย่างมาก  สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะแพ้รุนแรง ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม เช่น แพ้ยา แพ้อาหาร แพ้แมลง เป็นต้น โดยยานี้ จะทำให้หลอดเลือดหดตัว ลดการรั่วของสารน้ำจากหลอดเลือด จึงส่งผลให้ความดันโลหิตดีขึ้น  ลดอาการบวมของทางเดินหายใจ และทำให้หลอดลมขยายตัว จึงทำให้หายใจได้ดีขึ้น และเพิ่มการบีบตัวของหัวใจ

ยาอะดรีนาลีนมี 2 รูปแบบ

          1. แบบสำเร็จรูป หรือ Epinephrine auto-injector มี 2 ขนาดตามน้ำหนักตัว
  • ขนาด 0.15 มิลลิกรัม สำหรับ น้ำหนักตัว 15-25 กิโลกรัม
  • ขนาด 0.3 มิลลิกรัม สำหรับ น้ำหนักตัว 25 กิโลกรัมขึ้นไป
          2. แบบจัดเตรียมขึ้น โดยใช้เข็มฉีดยา หรือ Epinephrine prefilled syringe
  • แพทย์จะเตรียมยาตามน้ำหนักผู้ป่วย
  • แนะนำเก็บในกล่องทึบแสง
  • พกติดตัวเสมอ ไม่ควรทิ้งไว้บนรถ
  • เปลี่ยนยาทุก 3 เดือน
                ​

เมื่อไรที่ต้องฉีดยา = เมื่อเกิดภาวะแพ้รุนแรง
  • โดยมีอาการมากกว่า 2 ระบบขึ้นไป ได้แก่ ผื่นคัน ไอ ปวดท้องหรืออาเจียน และหมดสติ
  • หรือมีอาการ 1 ระบบที่รุนแรง โดยเฉพาะ หากมีความดันโลหิตลดลง หลังจากสัมผัสกับสารที่ผู้ป่วยทราบว่าแพ้มาก่อน

หากพบอาการแพ้รุนแรงให้ปฏิบัติดังนี้
  1. ฉีดยาอะดรีนาลีนทันทีข้ากล้ามเนื้อบริเวณกึ่งกลางต้นขาด้านนอก หากอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการกลับมาเป็นซ้ำหลังได้รับยานานกว่า  5-15 นาที  ให้ฉีดอะดรีนาลีนซ้ำเป็นเข็มที่ 2
  2. ส่งตัวผู้ป่วยไปรพ.ที่ใกล้ที่สุดทันที ถึงแม้อาการจะดีขึ้นแล้ว เนื่องจากต้องเฝ้าระวังการกลับมาเป็นซ้ำ

เอกสารอ้างอิง
  1.  แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการดูแลผู้ป่วยที่มีการแพ้ชนิดรุนแรง พ.ศ.2560
  2.  Kerddonfak. The Stability and Sterility of Epinephrine Prefilled Syringe. ASIAN PACIFIC JOURNAL OF ALLERGY AND   IMMUNOLOGY (2010) 28: 53-57

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : สถาบันโรคภูมิแพ้สมิติเวช รพ.สมิติเวชธนบุรี

โทร. 02-408-0111​

 

สอบถามเพิ่มเติม  / นัดหมายพบแพทย์

เพิ่มเพื่อน

บทความโดย

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
พญ. นันทนัช หรูตระกูล
ความชำนาญ : แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยา