จุดสังเกต ลางบอกเหตุ โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

20 เมษายน 2566

นายแพทย์ สุขสันต์ ตั้งสถาพร

                   เมื่อลองสังเกตุพ่อแม่ ปู่ย่าตายายที่บ้าน เวลาเดิน ลุกนั่ง ขึ้นลงบันได แล้วพบว่าดูไม่เหมือนเก่า เดินได้ช้าลง ดูไม่มั่นคง ล้มบ่อย สังเกตเห็นเข่าผิดรูป โก่ง งอ เวลาลุกนั่งแล้วเจ็บขึ้นลงบันไดได้ลำบาก ขึ้นลงรถได้ช้า เหล่านี้เป็นลางบอกเหตุว่ามีอะไรบางอย่างเกิดขึ้นกับเข่าของผู้สูงอายุเหล่านั้น ให้สงสัยว่าอาจจะมี "เข่าเสื่อม" เกิดขึ้นแล้ว

                   สัญญาณการเสื่อมของข้อเข่า มีได้หลากหลายอาการมาก แต่ส่วนใหญ่มักเริ่มจากอาการเจ็บ โดยจะเจ็บที่บริเวณรอบเข่า เจ็บเวลาที่ลงน้ำหนัก งอเหยียด เดิน โดยเฉพาะเดินไกลหรือขึ้นลงบันไดยิ่งเจ็บ  ต่อมาจะเริ่มมีการงอเหยียดได้ลดลง งอเหยียดมีเสียงดังเหมือนมีการเสียดสีของผิวข้อที่ไม่เรียบข้างใน เมื่อเป็นมากขึ้น แนวเข่าจะผิดรูปโก่งเข้าในหรือออกนอกก็ได้ และอาจจะมีเข่าบวมอักเสบ ทานยาแก้ปวดบ่อย แต่ก็กลับมาเป็นอีก หากอาการต่อเนื่องนานกว่า 6 เดือน ก็คาดได้ว่าเข่าเสื่อมนั้นน่าจะเป็นระดับที่อันตรายแล้ว ในบางรายจะล้มง่ายเพราะเข่าไม่มีแรง หลวม เดินแล้วเข่าจะพลิก ทรุดทำให้ล้มง่าย  หากลูกหลานพบว่าผู้สูงอายุในครอบครัว มีสัญญาณของข้อเข่าเสื่อมดังกล่าวแล้ว ควรรีบพาท่านไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย และรับการรักษาต่อไป โดยแพทย์จะประเมินระดับความรุนแรงของการเสื่อมของข้อเข่า และแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมต่อสภาพร่างกายของแต่ละท่านต่อไป
                  
                  ในบางกรณีที่เป็นเข่าเสื่อมระยะสุดท้าย แพทย์จะพิจารณาเป็นรายบุคคล ในผู้ป่วยที่เหมาะสมอาจแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เพื่อช่วยลดอาการปวดเข่า และเพื่อคืนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้กลับมาดีดังเดิม  การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมอาจจะใช้เวลาฟื้นตัวหลังผ่าตัด ประมาณ 4-6 สัปดาห์ แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้ในระหว่างระยะฟื้นตัวนี้ ผู้สูงอายุที่เข้ารับการการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมสามารถลุกเดินได้ในวันรุ่งขึ้นหลังผ่าตัด และสามารถดูแลตัวเอง เดิน ลุกนั่ง ช่วยเหลือตัวเองได้ พอสมควร ภายใน 4-5 วันหลังจากผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
                        

                 ดังนั้น การเข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม จึงไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวอย่างที่คิดแล้วนะครับ แต่เป็นวิธีที่ช่วยคืนคุณภาพชีวิต และความสุขให้กับผู้สูงอายุที่เรารักและเคารพอีกครั้ง

                        
                นอกจากนี้ยัง มีการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัดอีกหลายวิธี เช่น การทำทานยา การทำกายภาพบำบัดเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
                        
                เราในฐานะที่เป็นลูกหลานที่ดี ควรมีความรู้ความเข้าใจและคอยสังเกตสัญญาณต่างๆ ของข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ เมื่อพบสัญญาณดังกล่าว จะได้ช่วยแนะนำแนวทางการดูแลรักษาที่เหมาะสมแต่เนิ่น หากไม่มั่นใจ สามารถเข้ารับการตรวจ x ray และรับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อคืนความสามารถในการเดินก้าวไปข้างหน้า คืนคุณภาพชีวิต และ คืนความสุข ให้กับผู้มีพระคุณของเราต่อไป

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
โทร. 02-408-0103

สอบถามเพิ่มเติม  / นัดหมายพบแพทย์

เพิ่มเพื่อน

บทความโดย

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
นพ. สุขสันต์ ตั้งสถาพร
ความชำนาญ : แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาออร์โธปิดิกส์ / ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม