​PM 2.5 กับการอักเสบของทางเดินหายใจ

20 เมษายน 2566


"ความรู้เกี่ยวกับตัวบ่งชี้ทางชีววิทยา (biological marker) ในลมหายใจออกช่วยให้งานวิจัยมีความจำเพาะมากขึ้นในการระบุว่ามลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุโดยตรงของความเจ็บป่วยหรือไม่..? "

FeNO หรือ fractional exhaled nitrate and nitrite เป็นอีกตัวบ่งชี้หนึ่งของ nitric oxide (NO) ซึ่งเป็นอนุพันธ์สุดท้ายของไนตรัสไดออกไซด์ ใช้ในการติดตามอาการและการรักษาผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น โรคหอบหืด

     งานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า PM2.5 ที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลต่อตัวบ่งชี้ทางชีววิทยาในลมหายใจออกเหล่านี้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ (inflamation) อันเกิดจาก PM2.5 โดยตรงต่อทางเดินหายใจ
     zhiyu wang และทีมได้ศึกษา งานวิจัยแบบ systematic review and meta-analysis โดยรวบรวมจากงานวิจัยคุณภาพมา 28 งานวิจัย พบว่า pm2.5 ที่เพิ่มขึ้นทุก 10 ug/m3  ทำให้ค่า FeNO ในคนเพิ่มขึ้น 0.61 ppb แสดงให้เห็นว่า pm2.5 ทำให้เกิดการอักเสบ (inflammation) ในทางเดินหายใจได้ตั้งแต่ระยะสั้น และ FeNO เป็นตัวบ่งชี้ ที่สามารถช่วยเราทราบค่าการอักเสบของทางเดินหายใจในพื้นที่ที่มี มลภาวะสูงได้  นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ทำในปักกิ่ง ปีโอลิมปิก 2008 ซึ่งค่าฝุ่นลดลงเป็นพิเศษช่วยพิสูจน์ความจริงข้อนี้

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : สถาบันโรคภูมิแพ้สมิติเวช รพ.สมิติเวช ธนบุรี
โทร. 02-408-0111

 

สอบถามเพิ่มเติม  / นัดหมายพบแพทย์

เพิ่มเพื่อน