ระดับผลตรวจปริมาณไรฝุ่น MiteDtex

  • ดี
    (0 - 50) ppm
    Good
  • มาตรฐาน
    (50 - 150) ppm
    Moderate
  • มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ
    (150 - 450) ppm
    Unhealthy for
    sensitive group
  • ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
    (> 450) ppm
    Unhealthy

ระดับปริมาณไรฝุ่นในครัวเรือน แค่ไหนจึงส่งผลต่อสุขภาพ

  • ระดับไรฝุ่นที่ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้และอาจทำให้เกิดอาการหอบ คือ มีปริมาณสารก่อภูมิแพ้ชนิดที่ 1 สูงกว่า 10 ug/g dust
  • ระดับไรฝุ่นที่เพิ่มโอกาสการแพ้ไรฝุ่นและเป็นโรคหอบหืด คือ อาศัยอยู่ในที่ที่มีปริมาณสารก่อภูมิแพ้ชนิดที่ 1 สูงกว่า 2 ug/g dust อย่างต่อเนื่อง
  • ระดับปริมาณไรฝุ่นที่ไม่ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ คือ มีปริมาณสารก่อภูมิแพ้ชนิดที่ 1 ต่ำกว่า 2 ug/g dust


เทคนิคการตรวจปริมาณไรฝุ่น MiteDtex

การตรวจปริมาณไรฝุ่นของ MiteDtex ใช้วิธีการตรวจวัดปริมาณของสารกวานีน (Guanine) ซึ่งมีอยู่ในสารคัดหลั่งจากไรฝุ่น การวัดปริมาณสารกวานีน จากไรฝุ่น ทำให้ทราบถึงปริมาณของสารก่อภูมิแพ้ไรฝุ่น ซึ่งก่อให้เกิดผลกับสุขภาพโดย หากผลตรวจปริมาณไรฝุ่นในครั้งแรกออกมาดีกว่ามาตรฐาน และไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิตในบ้าน ควรตรวจปริมาณไรฝุ่นอย่างต่ำ ปีละ 1 ครั้ง แต่หากผลตรวจในครั้งแรกออกมาสูงกว่ามาตรฐาน(อยู่ในระดับสีส้มและสีแดง) ควรมีการตรวจทุก ๆ 1 เดือน ร่วมกับการปฏิบัติตามแนวทางกำจัดไรฝุ่น จนกว่าปริมาณไรฝุ่นจะเป็นไปตามมาตรฐาน(อยู่ในระดับสีเขียวและสีเหลือง) เมื่อระดับไรฝุ่นกลับมาอยู่นมาตรฐานแล้ว ควรมีการตรวจทุก ๆ 1 ปี เพื่อรักษามาตรฐานของปริมาณไรฝุ่น

  • การจัดระดับปริมาณไรฝุ่น MiteDtex

    ระดับผลตรวจที่เป็นไปตามมาตรฐาน ผลตรวจระดับสีเขียว สีเหลือง

    • ระดับผลตรวจของคุณ
      ดี
      (0 - 50) ppm
      Good
    • มาตรฐาน
      (50 - 150) ppm
      Moderate
    • มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ
      (150 - 450) ppm
      Unhealthy for
      sensitive group
    • ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
      (> 450) ppm
      Unhealthy

    ผลตรวจระดับสีเขียว คือมีปริมาณสารสารกวานีนที่เกิดจากปริมาณมูลของไรฝุ่นที่สกัด ในระดับน้อยกว่า 50 Parts Per Million (ppm) ในระดับนี้จะไม่ทำให้คนที่มีอาการแพ้ไรฝุ่นเกิดอาการ นั่นคือมีระดับปริมาณสารก่อภูมิแพ้ชนิดที่ 1 ต่ำกว่า 2 ug/g dust

    • ดี
      (0 - 50) ppm
      Good
    • ระดับผลตรวจของคุณ
      มาตรฐาน
      (50 - 150) ppm
      Moderate
    • มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ
      (150 - 450) ppm
      Unhealthy for
      sensitive group
    • ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
      (> 450) ppm
      Unhealthy

    ผลตรวจระดับสีเหลือง คือมีปริมาณสารสารกวานีนที่เกิดจากปริมาณมูลของไรฝุ่นที่สกัด ในระดับน้อยกว่า 150 Parts Per Million (ppm) ในระดับนี้จะไม่ทำให้คนที่มีอาการแพ้ไรฝุ่นเกิดอาการ นั่นคือมีระดับปริมาณสารก่อภูมิแพ้ชนิดที่ 1 ต่ำกว่า 2 ug/g dust

    ระดับผลตรวจที่เป็นไปตามมาตรฐาน ผลตรวจระดับสีส้ม สีเแดง

    • ดี
      (0 - 50) ppm
      Good
    • มาตรฐาน
      (50 - 150) ppm
      Moderate
    • ระดับผลตรวจของคุณ
      มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ
      (150 - 450) ppm
      Unhealthy for
      sensitive group
    • ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
      (> 450) ppm
      Unhealthy

    ผลตรวจระดับสีส้ม คือมีปริมาณสารกวานีนที่เกิดจากปริมาณมูลของไรฝุ่นที่สกัดในระดับ 150- 450 ppm เมื่อเทียบเป็นปริมาณสารก่อภูมิแพ้ชนิดที่ 1 จะมากกว่า 2 ug/g dust ซึ่งเป็นระดับที่มีความเสี่ยง ต่อการทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ในอนาคต

    • ดี
      (0 - 50) ppm
      Good
    • มาตรฐาน
      (50 - 150) ppm
      Moderate
    • มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ
      (150 - 450) ppm
      Unhealthy for
      sensitive group
    • ระดับผลตรวจของคุณ
      ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
      (> 450) ppm
      Unhealthy

    ผลตรวจระดับสีแดง คือมีปริมาณสารกวานีนที่เกิดจากปริมาณมูลของไรฝุ่นที่สกัดในระดับสูงมากกว่า 450 Parts Per Million (ppm) เมื่อเทียบเป็นปริมาณสารก่อภูมิแพ้ชนิดที่ 1 จะมากกว่า 10 ug/g dust ซึ่งเป็นระดับที่ทำให้เกิดอาการแพ้ในผู้ที่แพ้ไรฝุ่นได้

  • ข้อสังเกตอาการภูมิแพ้

    หากคุณมีอาการไอ จาม คัดจมูก ผื่นคัน หรือภูมิแพ้ แต่ปริมาณไรฝุ่นที่ตรวจน้อย มีความเป็นไปได้ คือ
    • อาการแพ้ไรฝุ่นในบริเวณอื่น

      1. ทำการตรวจในที่นอนเพราะคนที่ใช้เวลาอยู่ในบริเวณที่นอนเยอะ ดังนั้นบริเวณที่มีคนนอนจะทำให้มีเศษผิวหนัง เป็นอาหารไรฝุ่น และมีความชื้นจากอุณหภูมของร่างกาย ซึ่งส่งผลให้ไรฝุ่นเติบโตได้ดี

      2. บริเวณที่นอนมีไรฝุ่นน้อย อาจจะเกิดจากบริเวณอื่นเช่น พรมเช็ดเท้า ผ้าม่าน หรือบริเวณอื่น ที่คุณใช้เวลามาก เช่น ห้องนั่งเล่น, ในรถ ให้ทำการเก็บตัวอย่างไรฝุ่นส่งตรวจแยกในแต่ละพื้นที่

    • อาการแพ้อย่างอื่นที่ไม่ใช่ไรฝุ่น เช่น แพ้ขนสัตว์ เกสรหญ้า แมลงสาบ เชื้อรา หรือสารระคายเคืองอื่นๆที่ไม่ใช่สารก่อภูมิแพ้ เช่น pm 2.5
    • อาการจากโรคอื่น ๆ ที่ไม่ใช่โรคภูมิแพ้เช่น กลุ่มอาการ Non-allergic rhinitis, ไซนัสอักเสบ, หอบจากโรคปอดอื่น ๆ เป็นต้น
  • ข้อควรปฏิบัติ

    ต้องทำอย่างไรเมื่อไรฝุ่นในที่พักอาศัยของคุณอยู่ในระดับสูงเกินถว่ามาตรฐาน ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
    • 1.ติดต่อเจ้าหน้าที่

      หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถาม เกี่ยวกับผลตรวจระดับไรฝุ่นของท่าน สามารถติดต่อเพื่อปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้ของสถาบันภูมิแพ้สมิติเวช ธนบุรี ผ่านทาง Line OAไ ด้ทีนี่ และเลือกเมนูติดต่อเจ้าหน้าที่

    • 2. นัดหมายแพทย์ที่สถาบันภูมิแพ้สมิติเวช ธนบุรี (SAI)

      นัดหมายเพื่อพบแพทย์ที่สถาบันภูมิแพ้สมิติเวช ธนบุรี เพื่อให้ปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาและอาการของท่าน และ นัดหมายแพทย ผ่านทาง Line OA ได้ทีนี่ เลือกเมนูนัดหมายแพทย์

    • 3. ปรึกษาแพทย์ผ่าน Samitivej Virtual Hospital

      Samitivej Virtual Hospital คือ โรงพยาบาลบนโลกออนไลน์ ที่ช่วยให้ท่านสามารถพูดคุยตอบโต้ถึงปัญหาสุขภาพ หรือผลตรวจไรฝุ่นของท่านกับกับแพทย์ ได้แบบ Real-time พร้อมด้วยบริการครบวงจร เสมือนการเข้าโรงพยาบาลจริง สามารถเข้ารับบริการ หรือ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line OA และเลือกเมนูพบแพทย์ออนไลน์