ใครเคยรู้สึกเหมือนมีก้อนเม็ดเล็ก ๆ ในช่องปาก บ้วนออกมาเป็นก้อนสีเหลืองขนาดเล็ก มีกลิ่นเหม็นบ้าง วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ "นิ่วทอนซิล" หรือ "หินปูนต่อมทอนซิล"
ต่อมทอนซิล คืออะไร ?

เกิดจากการที่มีเศษอาหาร หรือตะกอนน้ำลาย เข้าไปสะสมในซอกหลืบของต่อมทอนซิล ต่อมาเกิดการย่อยสลายโดยแบคทีเรียในช่องปาก สร้างเอนไซม์มาย่อยและสังเคราะห์เป็นแก็สไข่เน่าเกิดขึ้น จนเป็นก้อนสีเหลืองๆ และมีกลิ่นเหม็น
อาการของนิ่วทอนซิล
นิ่วทอนซิล ไม่ได้ก่อให้เกิดโรคที่ร้ายแรง เพียงแต่ทำให้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตได้ เช่น มีกลิ่นปาก เสียบุคลิกภาพ เจ็บคอเรื้อรัง หรือคออักเสบเรื้อรังได้
การรักษา นิ่วทอนซิล
1. รักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด เช่น
2. รักษาโดยการผ่าตัด
นพ.ชาญสิริ เสกสรรค์วิริยะ
โสต ศอ นาสิกแพทย์ โรงพยาบาลสมิติเวช ธนบุรี
ต่อมทอนซิล คืออะไร ?

- ต่อมทอนซิล คือ ต่อมน้ำเหลืองต่อมหนึ่งในร่างกาย ที่อยู่บริเวณด้านข้างของคอหอย โดยสามารถมองเห็นได้ชัดเมื่ออ้าปาก (บางคนถ้าลิ้นมีขนาดใหญ่ อาจต้องอาศัยไม้กดลิ้นจึงจะมองเห็น)
- ต่อมทอนซิลเป็นต่อมน้ำเหลืองที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันเล็กน้อย (เหมือนทหารประจำป้อมเล็ก ๆ) แต่ไม่ได้มีความสำคัญมากนัก เนื่องจากร่างกายคนเรามีต่อมน้ำเหลืองอีกมากมายนับ 500-600 ต่อม
- ขนาดของต่อมทอนซิล แต่ละคนมีขนาดไม่เท่ากัน บางคนมีขนาดเล็กๆ หลบอยู่ข้างคอหอยจนแทบมองไม่เห็น แต่บางคนที่เป็นหวัด หรือคออักเสบบ่อยๆ จะมีขนาดใหญ่ จนมองเห็นได้ชัดเจนได้ชัดเมื่ออ่าปาก
- ลักษณะของต่อมนี้ แต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนเป็นก้อนกลมเนียนๆ แต่บางคนมีซอกหลืบบนผิวของต่อม (Tonsillar crypts) จนเป็นที่สะสมของเศษอาหารและตะกอนน้ำลายได้
เกิดจากการที่มีเศษอาหาร หรือตะกอนน้ำลาย เข้าไปสะสมในซอกหลืบของต่อมทอนซิล ต่อมาเกิดการย่อยสลายโดยแบคทีเรียในช่องปาก สร้างเอนไซม์มาย่อยและสังเคราะห์เป็นแก็สไข่เน่าเกิดขึ้น จนเป็นก้อนสีเหลืองๆ และมีกลิ่นเหม็น
อาการของนิ่วทอนซิล
- รู้สึกเหมือนมีอะไรติด ๆ ในคอคล้ายก้างติดคอ
- มีกลิ่นปาก ถึงแม้ดูแลสุขภาพในช่องปากอย่างดีแล้ว
- เจ็บคอเรื้อรัง
- มีก้อนเม็ดสีเหลืองหลุดออกมาในปาก
- สังเกตก้อนขาว ๆ ที่ต่อมทอนซิลเมื่ออ้าปาก
นิ่วทอนซิล ไม่ได้ก่อให้เกิดโรคที่ร้ายแรง เพียงแต่ทำให้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตได้ เช่น มีกลิ่นปาก เสียบุคลิกภาพ เจ็บคอเรื้อรัง หรือคออักเสบเรื้อรังได้
การรักษา นิ่วทอนซิล
1. รักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด เช่น
- การกลั้วคอ ด้วยน้ำเกลือ หรือ น้ำผสมผงเบคกิ้งโซดา
- การนำนิ่วทอนซิลออกด้วยตนเอง
2. รักษาโดยการผ่าตัด
- การผ่าตัดต่อมทอนซิล
- การผ่าตัดอื่นๆ
นพ.ชาญสิริ เสกสรรค์วิริยะ
โสต ศอ นาสิกแพทย์ โรงพยาบาลสมิติเวช ธนบุรี
