ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ปรึกษาแพทย์ (โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย)
เกี่ยวกับมะเร็งต่อมลูกหมาก / ต่อมลูกหมากโต 

ให้คำปรึกษาโดยแพทย์และทีมพยาบาลผู้ชายทั้งหมด

ตั้งแต่วันนี้ -  28 กุมภาพันธ์ 2566

 
นพ.สกลรัฐ  ทิตอร่าม (ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะศูนย์ M Club)

โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับต้นๆ ในผู้ชาย และยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยลักษณะของโรคที่มีการเติบโตอย่างช้า ในระยะแรกอาจจะยังไม่ได้แสดงอาการ แต่หากมีการพัฒนาเป็นระยะลุกลาม อาจมีอาการทางปัสสาวะเช่น ปัสสาวะขัดลำบาก ปัสสาวะปนเลือด รวมถึงเป็นระยะกระจายอาจทำให้มีอาการปวดกระดูกบริเวณนั้นๆได้

 
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค ได้แก่
  1. อายุ : โอกาสการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากมีแนวโน้มสูงขึ้นตามอายุ ส่วนใหญ่จะพบในผู้ชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
  2. พันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติบิดาหรือพี่น้องเคยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจะมีโอกาสเสี่ยงกว่าคนทั่วไป
  3. เชื้อชาติ พบมากในกลุ่มชายชาวตะวันตกทั้งในยุโรปและอเมริกา ขณะที่คนเอเชียพบได้น้อยกว่า
  4. อาหาร การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ให้พลังงานสูง และอาหารจากพวกเนื้อแดงอย่างต่อเนื่อง อาจเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้
การตรวจวินิจฉัยให้พบตั้งแต่ระยะเริ่มแรก จะมีความสำคัญต่อผลการรักษาที่ดี และเพิ่มอัตราการหายของโรค สำหรับการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก มีดังนี้
  1. การคลำต่อมลูกหมากทางทวารหนัก (Digital rectal examination)
  2. การเจาะเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง PSA ซึ่งพบว่าสารตัวนี้จะถูกผลิตขึ้นมามากกว่าปกติ ในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
  3. การตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI prostate) เป็นวิธีแนวใหม่ที่จะมีการถ่ายภาพอุโมงโดยอาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยทำให้เห็นภาพเนื้อเยื่ออวัยวะภายในโดยเฉพาะต่อมลูกหมากได้ละเอียดแม่นยำ เห็นลักษณะรอยโรคและติดตามรักษาได้เป็นอย่างดีโดยไม่ต้องเจ็บตัว
หากผู้ป่วยพบมีค่า PSA สูงจะมีแนวโน้มเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก แพทย์จะทำการตรวจอัลตร้าซาวด์ทางทวารหนักและเจาะชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก เพื่อมาตรวจทางพยาธิวิทยา  ปัจจุบันได้มีวิธีการตรวจชิ้นเนื้อด้วยวิธีแนวใหม่ เรียกว่า การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยวิธีแบบพุ่งเป้า (MRI/Ultrasound Fusion Biopsy) โดยการตรวจนี้เป็นการใช้เทคโนโลยีภาพเอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กสามมิติพร้อมกับการทำอัลตร้าซาวด์แบบ Real time ทำให้แพทย์เห็นรายละเอียด, ตำแหน่งก้อนเนื้อได้ชัดเจน การตรวจวินิจฉัยมีความแม่นยำมากขึ้น ผู้ป่วยได้เข้าสู่ระบบการรักษาเร็ว ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภายหลังการรักษาดีขึ้นมาก


อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ยังมีข้อจำกัดในผู้ป่วยที่มีโลหะในร่างกาย เช่น เคยได้รับการผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียมหรือข้อเทียมโลหะ เนื่องจากโลหะในร่างกายของผู้ป่วยจะไปรบกวนการทำงานของคลื่นแม่เหล็ก ทำให้ไม่สามารถสร้างภาพต่อมลูกหมากออกมาได้ รวมถึงผู้ป่วยที่รับประทานยาในกลุ่มยาละลายลิ่มเลือด ซึ่งหากจะเข้ารับการตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมาก ก็จะต้องหยุดรับประทานยาเหล่านั้นก่อนการทำหัตถการเป็นเวลาอย่างน้อย 7 วัน

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์ศัลยกรรม (M Club)

 
สอบถามเพิ่มเติม / เพิ่มเพื่อน Line 
เพิ่มเพื่อน